top of page
รูปภาพนักเขียน๋Jirasak Kaenkaew

โปรตีนและการออกกำลังกาย



โปรตีน เป็นสารอาหารที่สำคัญในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง และจำเป็นจะต้องมีอยู่ในอาหารทุกมื้อ โปรตีนนอกจากจะไปสร้างมวลกล้ามเนื้อแล้ว ยังป้องกันกระบวนการแคทาบอลิซึมของกล้ามเนื้ออันเป็นสาเหตุที่ทำให้ใยกล้ามเนื้อถูกทำลาย ซึ่งสารอาหารชนิดนี้ก็ไม่ได้มีอยู่แค่ในเนื้อสัตว์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีอยู่ในอาหารอีกหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นผักใบเขียว ธัญพืช และถั่วชนิดต่างๆ


คนทั่วไปที่ไม่ได้ออกกำลังกายควรได้รับโปรตีน 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. เช่น น้ำหนัก 65 กก. จะต้องการโปรตีนประมาณ 60-70 กรัมต่อวัน สำหรับคนที่ออกกำลังกายเพื่อต้องการสร้างกล้ามเนื้อ ควรได้รับโปรตีน 2-3 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. คือประมาณ 120 กรัมต่อวัน เช่น คนที่เล่นเวทเทรนนิ่ง จำเป็นต้องแบ่งอาหารเป็นมื้อย่อย 6-8 มื้อ เนื่องด้วยข้อจำกัดของร่างกายที่ย่อยและดูดซึมโปรตีนได้ครั้งละ 30-50 กรัม ทุก 2-3 ชั่วโมง ขึ้นกับน้ำหนักตัว จึงต้องการโปรตีนเพื่อไปซ่อมแซมกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายมากกว่าคนทั่วไป


การรับประทานโปรตีนในทุกประเภท สามารถช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้ แต่ต้องควบคู่กับการฝึกกล้ามเนื้อไปด้วย หากฝึกไม่สม่ำเสมอ ก็ต้องใช้เวลานานมากกว่ากล้ามเนื้อจะแข็งแรง โดยการฝึกก็มีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับว่าต้องการฝึกกล้ามเนื้อบริเวณไหน และต้องการกล้ามเนื้อแบบไหน



กล้ามเนื้อตอบสนองกับโปรตีนได้ดีที่สุดตอนออกกำลังกาย โดยการทำงานของโปรตีนชนิดต่างๆ แม้จะต่างหน้าที่กันแต่มีการเชื่อมโยงระบบการทำงานเข้าด้วยกันขณะออกกำลังกาย กล้ามเนื้อที่มีการยืดและหดตัวจะกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาและการสังเคราะห์ทางเคมีที่ปรับให้มีขนาดเส้นใยของกล้ามเนื้อที่ใหญ่ขึ้น แข็งแรงและมีความทนทานมากมากขึ้น ผู้ออกกำลังจึงควรบริโภคโปรตีนในปริมาณที่เพียงพอต่อการใช้งานของร่างกายนั่นเอง





ดู 1 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page