top of page
รูปภาพนักเขียน๋Jirasak Kaenkaew

อาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้จากการออกกำลังกายแต่ละประเภท

อัปเดตเมื่อ 17 ส.ค. 2565



การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย แต่หลายครั้งพบว่าเกิดความผิดพลาด ก่อให้เกิดการบาดเจ็บระหว่างการออกกำลังกายตั้งแต่บาดเจ็บเล็กน้อย จนไปถึงบาดเจ็บหนัก ต้องได้รับการผ่าตัด หรือพักฟื้นไปนานๆ เรามาทำความรู้จักอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้จากการออกกำลังเพื่อรู้ทัน และป้องกันการเกิดการบาดเจ็บกันดีกว่า



1.เอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาด

เป็นการบาดเจ็บของเอ็นไขว้หน้าเข่า หรือ (Anterior Cruciate Ligament – ACL) ส่วนมากมักพบในผู้ที่เล่นฟุตบอล เนื่องจากมีการใช้ข้อเข่าขณะวิ่ง หรือออกแรงเตะ จนทำให้เกิดการบิดงอของข้อเข่ากระทันหัน จนทำให้เอ็นไขว้หน้าเข่า ซึ่งเป็นเอ็นหลักที่ช่วยรักษาความมั่นคง และควบคุมการเคลื่อนไหวของเข่าเกิดการบาดเจ็บได้ จึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการ ปวด บวม อักเสบบริเวณเข่า เดินลงน้ำหนักเข่าได้ไม่เต็มที่ ทำให้เดินกะเผลก หรือบางรายอาจได้ยินเสียงลั่นในข้อเข่าขณะเคลื่อนไหว ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดหมอนรองเข่าและกระดูกอ่อนบริเวณเข่าเกิดการบาดเจ็บเรื้อรัง จนทำให้เกิดเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควรได้


2.ITBS หรือ Iliotibial band syndrome

เป็นการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ Iliotibial band (คือกล้ามเนื้อพิเศษที่ยาวตั้งแต่บริเวณเอว-เข่า) ซึ่งพบบ่อยใน นักวิ่ง นักปั่นจักรยาน หรือนักเดินทางไกล เนื่องจากมีการใช้งานมัดกล้ามเนื้อ ITB มากเกินไป จนเกิดการเกร็งตัวและเกิดการอักเสบของมัดกล้ามเนื้อ จนเกิดเป็นอาการปวดหัวเข่าด้านนอก ในบางรายอาจมีอาการปวดร้าวขึ้นต้นขาและสะโพกร่วมด้วย โดยอาการจะปวดมากขณะวิ่ง หรือออกกำลังกาย และจะเป็นหนักขึ้นถ้ายังออกกำลังกายต่อไป



3.หมอนรองข้อเข่าฉีกขาด (Miniscus tear)

เป็นการบาดเจ็บของหมอนรองข้อเข่า โดยปกติหมอนรองข้อเข่ามีหน้าที่รับแรงกระแทกของร่างกายขณะวิ่ง ยืน เดิน หรือมีการใช้น้ำหนักกดลงบนข้อเข่า ดังนั้นการบาดเจ็บของหมอนรองข้อเข่า จึงมักเกิดในการเล่นกีฬาที่มีการใช้ความเร็วหรือมีการชนกระแทกกัน เช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอล เป็นต้น เมื่อหมอนรองข้อเข่าเกิดการบาดเจ็บ จะทำให้มีอาการ ปวด บวม อักเสบบริเวณข้อเข่า ข้อเข่าติดขัดขณะเคลื่อนไหว หรือข้อเข่าฝืด นอกจากนี้ยังไม่สามารถเหยียดหรืองอข้อเข่าได้สุด หากไม่ได้รับการรักษา แต่ยังใช้งานเข่าซ้ำๆ จะทำให้เกิดการเสียดสีของกระดูกภายในข้อเข่าจนกระดูกเกิดความเสื่อมสภาพ กายเป็นภาวะข้อเข่าเสื่อมได้ในที่สุด



4.Tennis Elbow หรือ เอ็นข้อศอกด้านนอกอักเสบ

เป็นโรคที่มักพบในนักกีฬา เทนนิส หรือ ผู้ที่เหยียดแขน/กระดกข้อมือซ้ำๆ เป็นเวลานาน เนื่องจากมีการใช้งานของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณแขนท่อนล่างด้านนอกมากเกินไป จนเกิดการบาดเจ็บและอักเสบตามมา จึงทำให้เกิดอาการปวดบริเวณข้อศอกด้านนอก บางรายอาจมีการปวดร้าวลงแขนท่อนล่างและข้อมือ ส่งผลให้ลำบากต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น หยิบจับสิ่งของ ยกของ งอแขน จะมีอาการปวดมากขึ้น เป็นต้น


5.Golfer’s elbow หรือ เอ็นข้อศอกด้านในอักเสบ

ส่วนใหญ่เป็นโรคที่พบใน นักกอล์ฟ เนื่องจากมีการใช้งานกลุ่มมัดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณข้อศอกด้านในอย่างมาก จึงทำให้เกิดการอักเสบขึ้น โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดข้อศอกด้านใน จะปวดมากขึ้นขณะเหยียดข้อศอกแล้วกระดกมือขึ้น หากมีอาการรุนแรงอาจปวดลามลงไปถึงข้อมือได้


6.การบาดเจ็บจากการยกเวท

การยกเวทเป็นการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่มัดกล้ามเนื้อ แต่หากยกไม่ถูกวิธี ไม่ถูกท่า หรือยกโดยใช้น้ำหนักที่มากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้ ซึ่งอาการบาดเจ็บจากการยกเวท แบ่งได้ดังนี้


อาการปวดหลังจากการยกเวท มักเกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อหลัง ทำให้มีอาการปวดบริเวณหลังล่าง เคลื่อนไหวตัวลำบาก เอี้ยวตัวไม่ได้ ก้มตัวไม่ได้ หรือในบางรายอาจมีอาการปวดหลังร้าวลงขา หากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษา อาจเกิดการดึงรั้งของมัดกล้ามเนื้อบริเวณใกล้เคียง จนทำให้เกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ในอนาคต



อาการปวดคอ บ่า ไหล่ จากการยกเวท ผู้ป่วยมักมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ แขน แขนไม่มีแรง หรือบางรายอาจมีการเกร็งของมัดกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่จนไปรบการทำงานของเส้นประสาท จนเกิดเป็นอาการชาแขน ชามือ ได้



สนับสนุนโดย


ALL PRO WHEY PROTEIN สูตรพิเศษ ถูกออกแบบมาให้เหมาะกับระบบร่างกายของมนุษย์ และช่วยส่งเสริมให้การออกกำลังกายหรือการควบคุมน้ำหนักนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยเวย์โปรตีนสูตรพิเศษที่มีความบริสุทธิ์และเข้มข้นสูงถึง 90% โดยสกัดพิเศษ ให้มีโมเลกุลขนาดเล็ก และผ่านกระบวนการแยกแลคโตสและน้ำตาลออกจากโปรตีน อุดมด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และกรดอะมิโนจำเป็น พร้อมสารสกัดจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติ ด้านการต้านอนุมูลอิสระและชะลอวัย เพื่อหุ่นใหม่และสุขภาพที่ดีกว่า



<<สนใจผลิตภัณฑ์ ALL PRO คลิ๊กเลย

ดู 13 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page