เพศสัมพันธ์ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญของชีวิตคนเรา เป็นองค์ประกอบก่อให้เกิดความรัก และความผูกพันธ์กันและกัน แต่ปัญหาเรื่องเพศสัมพันธ์ หรือความบกพร่องทางเพศ เป็นภาวะที่ร่างกาย และจิตใจไม่สามารถตอบสนองต่อการกระตุ้นทางเพศได้ตามปกติ ทำให้เกิดปัญหาในการร่วมเพศ หรือการมีความสุขทางเพศ ปัจจุบันแพทย์มีวิธีตรวจวินิจฉัยรักษาและป้องกันปัญหาเหล่านี้
ตามธรรมชาติอวัยวะเพศแข็งตัวได้อย่างไร
เมื่อมีการกระตุ้นทางเพศจากสมองหรือประสาทสัมผัสต่าง ๆ ปลายประสาทที่อยู่ในอวัยวะเพศจะหลั่งสารบางอย่าง มีผลทำให้หลอดเลือดแดงภายในอวัยวะเพศขยายตัว เลือดแดงจะไหลเข้ามาในอวัยวะเพศ ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อพรุนคล้ายฟองน้ำมากขึ้น ทำให้อวัยวะเพศขยายโตและยาวขึ้น ขณะเดียวกันเลือดดำที่อยู่ขอบนอกจะถูกเบียดให้แฟบ ยิ่งทำให้เลือดมาคั่งในอวัยวะเพศ อวัยวะเพศจึงแข็งแตัวพร้อมที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้
ลักษณะของความบกพร่องสมรรถภาพทางเพศของผู้ชาย มี 3 ลักษณะด้วยกัน ดังนี้
1. ไม่มีความรู้สึกหรือความต้องการทางเพศ อาจเป็นเพราะอายุมากขึ้นหรือฮอร์โมนเพศลดลง
2. อวัยวะเพศไม่แข็งตัว หรือแข็งได้ไม่ดีพอ หรือไม่นานพอที่จะเกิดความพึงพอใจ ในเพศสัมพันธ์
มักเรียกว่าโรคหย่อน หรือเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ภาษาอังกฤษใช้ว่า Erectile Dysfunction หรือ
ย่อว่า ED ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยและพบมากขึ้นตามอายุ ผู้ชาย 1 ใน 2 คน จะเป็นโรคนี้ไม่มากก็
น้อย แตกต่างกันไปในแต่ละคน
3. การหลั่งน้ำกามเร็ว พบได้บ่อยจากสาเหตุเกิดจากสภาวะจิตใจ
เหตุใดจึงเกิดการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
สาเหตุของการหย่อนสมรรถภาพทางเพศมี 2 สาเหตุใหญ่ ๆ คือ
1. เหตุทางกาย เกิดจากโรคหรือภาวะทางกายที่มีผลต่อระบบประสาท หรือระบบหลอดเลือด
ของอวัยวะเพศ หรือเกิดจากความผิดปกติของอวัยวะเพศเอง
2. เหตุทางใจ เกิดจากโรคหรือภาวะทางจิตใจ ที่มีผลกระทบต่อการกระตุ้นทางเพศจากสมอง
หรือประสาทสัมผัสเป็นสำคัญ เหตุทางกายมักพบในคนมีอายุ ส่วนเหตุทางใจมักพบในคนหนุ่ม
อย่างไรก็ตามเหตุทางกายและใจมักเกิดร่วมกันได้เสมอ
ปัจจัยเสียงต่อการหย่อนสมรรถภาพทางเพศมีอะไรบ้าง
1. โรคเรื้อรังทางระบบหลอดเลือดและประสาท เช่น โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคหลอด
เลือดตีบเป็นต้น
2. โรคระบบต่อมไร้ท่อ ที่สำคัญคือโรคเบาหวาน
3. โรคเกิดจากการผ่าตัด หรือภยันตรายต่าง ๆ เช่น การผ่าตัดรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก หรือ
กระเพาะปัสสาวะ โรคของไขสันหลัง
4. โรคทางจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า
5. บุหรี่และเหล้า
6. ยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงบางตัว ยากล่อมประสาท ยาฮอร์โมน และยา
โรคกระเพาะเป็นต้น
"หากคุณผู้ชายสามารถดูแลตัวเองเพื่อหลีกเลี่ยงหรือกำจัดปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ สมรรถภาพทางเพศก็จะกลับมาดีขึ้นได้"
รศ. นพ. อนุพันธ์ ตันติวงศ์
ภาควิชาศัลยศาสตร์
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
Comments