top of page
รูปภาพนักเขียน๋Jirasak Kaenkaew

การป้องกันการเกิดมะเร็งด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ



1. สารต้านอนุมูลอิสระ คืออะไร

สารต้านอนุมูลอิสระเป็นสารที่อาจช่วยปกป้องเซลล์จากการถูกทำลายโดยสารที่ไม่มีความเสถียรทางโมเลกุล ที่รู้จักในนามของสารอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ โดยสารต้านอนุมูลอิสระจะไปทำปฏิกิริยาและทำให้สารอนุมูลอิสระมีความเสถียร และอาจช่วยป้องกันการทำลายเซลล์ที่เกิดจากสารเหล่านี้ สารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ เบต้าแครอทีน ไลโคพีน วิตามินซี วิตามินอี และวิตามินเอ เป็นต้น


2. สารต้านอนุมูลอิสระสามารถป้องกันมะเร็งได้หรือไม่

ผลการศึกษาจากห้องปฏิบัติการณ์ ซึ่งมีหลักฐานจากกระบวนทางสารเคมี การเพาะเชื้อเซลล์ และการทดลองในสัตว์ บ่งชี้ว่าสารต้านอนุมูลอิสระอาจช่วยป้องกันการก่อตัวของโรคมะเร็งได้ อย่างไรก็ตามยังอยู่ระหว่างการทดลองที่แน่ชัด ในช่วงหลายปีนี้ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอน



3. สารต้านอนุมูลอิสระสามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้อย่างไร

สารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยทำให้สารอนุมูลอิสระมีความเสถียร และไม่เกิดปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดการทำลายเซลล์เนื่องจากสารอนุมูลอิสระมีจำนวนอิเล็กตรอนน้อยกว่าสารประเภทอื่น ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีกับเซลล์ได้ง่ายกว่าการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ รวมทั้งควันบุหรี่และรังสีเป็นตัวกระตุ้นการสร้างสารอนุมูลอิสระ โดยพบว่าอยู่ในรูปของออกซิเจนมากที่สุด โมเลกุลออกซิเจนที่ไม่มีความเป็นกลางทางไฟฟ้าจะไปแย่งจับอิเล็กตรอนจากโมเลกุลของสารอื่นทำให้เกิดเป็นสารอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสาเหตุของการทำลายดีเอ็นเอของเซลล์ และถ้าเกิดปฏิกิริยาเหล่านี้เป็นเวลานานๆ จะทำให้ร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมความผิดปกติที่เกิดขึ้น และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งตามมาได้ดังนั้นสารต้านอนุมูลอิสระจะทำให้โมเลกุลสารต่างๆ มีความเป็นกลางทางไฟฟ้าและป้องกันไม่ให้สารอนุมูลอิสระไปแย่งจับอิเล็กตรอนจากสารอื่น



4. สารต้านอนุมูลอิสระมีมากในอาหารประเภทใด

4.1 สารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มที่ไม่ใช่เอนไซม์ พบได้ในผัก ผลไม้ ข้าว ถั่ว เนื้อสัตว์บางประเภท เช่น เป็ด ไก่ ปลา

- เบต้าแครอทีนพบมากในผักและผลไม้ที่มีสีส้ม เช่น มะเขือเทศ แครอท น้ำเต้า แคนตาลูป ฟักทอง มะม่วงนอกจากนี้ยังพบได้ในผักใบสีเขียวบางประเภท เช่น ผักขม กะหล่ำปลี

- ลูทีน ซึ่งมีประโยชน์ช่วยในการมองเห็น พบได้มากในผักใบสีเขียว เช่น ผักขม กะหล่ำปลี

- ไลโคพีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่พบมากในมะเขือเทศ แตงโม มะละกอ องุ่น ส้ม ฝรั่ง

- สารซีลีเนียม ไม่ได้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระโดยตรง แต่มีส่วนช่วยในการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆพบได้พืชที่ปลูกลงดิน เช่น ข้าว นอกจากนี้ยังพบได้ในเนื้อสัตว์และขนมปัง

- วิตามินเอ พบได้มากในตับ มัน แครอท นม ไข่แดง เนยแข็ง

- วิตามินซี พบได้มากในผักผลไม้หลายประเภท ธัญพืช เนื้อสัตว์บางประเภท เช่น เนื้อวัว เป็ด ไก่ และปลา

- วิตามินอี พบได้ในถั่วอัลมอนต์ ข้าวโพด ข้าวสาลี ถั่วเหลือง มะม่วง ผักบล็อกโคลี


4.2 สารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มที่เป็นเอนไซม์

- เอนไซม์ Glutathione peroxidase (GPx) พบทั้งในไซโทซอล และไมโทคอนเดรีย มีซิลิเนียม (selenium) เป็นโคแฟกเตอร์ในบริเวณเร่งของเอนไซม์ (active site) ในรูปของซิลิโนซิสเทอีน หน้าที่สำคัญคือกระตุ้นปฏิกิริยารีดักชันต่อไฮโดรเปอร์ออกไซด์ โดยจะอยู่ในรูปรีดิวซ์กลูทาไทโอน ได้น้ำเป็นผลผลิตสุดท้ายของปฏิกิริยา

- เอนไซม์ Intracellular superoxide dismutase (SOD) มีทั้งชนิดที่อยู่ในไซโตซอลและไมโทคอนเดรีย SOD ในไซโทซอลจะมีทองแดงและสังกะสีเป็นโคแฟกเตอร์โดยการเชื่อมต่อของกรดอะมิโนฮีสตามีนที่บริเวณเร่ง มีหน้าที่หลักในการเป็นปราการด่านแรกของการต้านซุปเปอร์ออกไซด์สำหรับเซลล์ ส่วน SOD ในไมโทคอนเดรียจะมีแมงกานีสเป็นโคแฟกเตอร์ (cofactor) ทำหน้าที่กำจัด oxygen radical ที่เกิดจากกระบวนการหายใจ (respiratory chain)

- เอนไซม์ extracellular superoxide dismutase (EC-SOD) มีโครงสร้างแบบเตตระเมอริก (tetrameric) ประกอบด้วย ทองแดงและสังกะสีเป็นโคแฟกเตอร์อยู่ในแต่ละหน่วยย่อย (subunit) ส่วน c-terminal ของเอนไซม์นี้มี basic amino acid ซึ่งจะจับกับไกลโคอะมิโนไกลแคน (glycoaminoglycan) เช่น เฮปาริน (heparin) มีหน้าที่ในการเก็บกินซุปเปอร์ออกไซด์โดยเฉพาะบริเวณที่อยู่นอกเซลล์ รวมทั้งยังช่วยควบคุมให้เหล็กอยู่ในสภาวะรีดิวซ์ และควบคุมปริมาณของไนตริกออกไซด์ ลดการแตกทำลายคอลลาเจนในเมทริกซ์ภายนอกเซลล์ จะไม่ถูกเหนี่ยวนำจากสารตั้งต้น (substrate) การควบคุมเบื้องต้นมีการทำงานร่วมกันกับไซโทไคน์ (cytokine)

- เอนไซม์ Paraoxonase (PON I)ย่อยพันธะเอสเทอร์ PON I ละลายในไขมัน จะจับอยู่กับไลโปโปรตีน (lipoprotein) ชนิดที่มีความหนาแน่นสูง (high density lipoprotein,HDL) PON I ในซีรัมมักจะทำงานร่วมกับเอนไซม์ arylesterase ในการกำจัดสารประกอบฟอสเฟตอินทรีย์ (organophosphorus compound) เช่น พาราออกซอน (paraoxon) และอนุมูลอิสระก่อมะเร็งที่อยู่ในส่วนละลายในไขมัน ซึ่งได้จากกระบวนการ lipid peroxidation การทำงานของ PON I มีความแตกต่างกันไปในแต่ละคน เพราะเกิดจาก polymorphism



5. บทบาทสารต้านออกซิเดชั่นต่อมะเร็ง

ผลทางชีวภาพ (biological effects)ของสารต้านออกซิเดชั่นในการยับยั้งเซลล์มะเร็ง ได้แก่

1) ทำลายอนุมูลอิสระโดยการเก็บกิน (scavenge deleterious) และการรีดิวซ์โมเลกุล

2) กระตุ้นการส่งสัญญาณในเซลล์เพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง

3) ควบคุมวัฏจักรของเซลล์ให้ปกติ

4) ยับยั้งการแบ่งตัวเพิ่มเซลล์รวมทั้งกระตุ้นกระบวนการอะพอพโทซีส

5) ยับยั้งการลุกลามและการสร้างหลอดเลือดของเซลล์มะเร็ง

6) ยับยั้งกระบวนการอักเสบเรื้อรังซึ่งเป็นสาเหตุการเกิดมะเร็ง

7) กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ phase II detoxication ในการกำจัดอนุมูลอิสระเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็ง


สารต้านอนุมูลอิสระจะมีผลดีในการป้องกันผลกระทบจากปฏิกิริยาต่างๆ ของอนุมูลอิสระต่อร่างกาย มากกว่าการรักษาเมื่อเกิดความผิดปกติ หรือเจ็บป่วยไปแล้ว ดังนั้นหากเราเริ่มต้นดูแลสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ ย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว








S.O.D MORE ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต้านอนุมูลอิสระที่เหนือกว่าสารต้านอนุมูลอิสระทั่วไป โดยคัดเลือกคุณค่าของไฟโตนิวเทรียนท์จากผักและผลไม้ 125 ชนิด ผ่านกระบวนการผลิตเป็นเวลา 180 วัน ทำให้ได้ SOD ENZYME (Superoxide dismutase) ที่ช่วยกระตุ้นระบบป้องกันของร่างกายให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้นช่วยลดความเสียหายภายในร่างกาย ที่เกิดขึ้นจากภาวะเครียดออกซิเดชัน จึงเรียกกลไกดังกล่าวว่า การต้านอนุมูลอิสระเชิงรุก (Proactive antioxidant) เพื่อดูแลสุขภาพองค์รวมอย่างต่อเนื่อง แนะนำรับประทานวันละ 1 ช็อต เพื่อการฟื้นฟูสุขภาพ




ดู 2 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Commenti


bottom of page